เทคนิคการเติมลมยางที่ถูกวิธี

เทคนิคการเติมลมยางที่ถูกวิธี



การเติมลมยางถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการดูแลรักษายางรถยนต์
ถ้าขาดการดูแลที่ดี จะเกิดผลเสียดังนี้

เติมลมน้อยเกินไป
ยางจะบวมล่อนได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง ดอกยางสึกผิดปกติ
อาจจะสึกที่ขอบยางข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง สึกที่ไหล่ยางหรือสึกที่ปลายดอก
มีความฝึดที่ผิวสัมผัสมาก ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงกว่าปกติ

เติมสูบลมมากเกินไปเมื่อได้รับแรงกระแทกจะระเบิดได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง ดอกยางโดยเฉพาะกลางหน้ายาง
จะสึกมาก ถ่ายเทการสั่นสะเทือนหรือการกระแทกขึ้นสู่ตัวรถได้มาก ขาดความนุ่มนวล

การเติมลมของยางล้อคู่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมลม และรักษาระดับแรงดันลมในล้อคู่ให้เท่ากันตลอดเวลา
ไม่เช่นนั้นยางเส้นที่มีแรงดันมากจะรับน้ำหนักมาก ชำรุดเสียหายง่าย สึกหรอผิดปกติ
เส้นที่เติมลมน้อยจะรับน้ำหนักน้อย การสึกของยางจะไม่เรียบเสมอกัน หรือสึกอย่างผิดปกติ
- ไม่ควรปรับความดันลมยางในขณะยางร้อน เนื่องจากความร้อนทำให้อากาศขยายตัว
- ยางเรเดียลเส้นลวดต้องเติมลมมากกว่ายางผ้าใบธรรมดา


ความแตกต่างของแรงดันลมเพียง 1 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 14 ปอนด์/ตร.นิ้ว
จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 400 ก.ก. ถ้าแรงดันลมต่างกัน 2 ก.ก./ซ.ม.2
หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 800 ก.ก.
ในกรณีแรงดันลมต่างกัน 2 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว ยางเส้นที่เติมลมมาก
จะมีอายุใช้งานเพียง 70% เส้นที่ลมยางอ่อนจะมีอายุการใช้งานเหลือเพียง 45%
การเติมลมให้เท่ากันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้น จึงควรเติมลมให้พอดี ตามเกณฑ์ที่โรงงานกำหนดหรือพิจารณาให้สอดคล้องกับ
สภาพการใช้งาน นอกจากต้องเติมลมให้ถูกต้องแล้วจะต้องมีการตั้งศูนย์ล้อ ตั้งมุมของล้อหน้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรฐานของรถยี่ห้อนั้นๆ อีกด้วย

การตรวจเช็คลมยาง
ควรตรวจเช็คในขณะที่ยางยังเย็นอยู่ และเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องควรเติมลมยางให้ได้ตามมาตรฐานที่บริษัทรถกำหนด

นอกจากนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเก็บยางไว้นานๆ
ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ยางสัมผัสกับความร้อน แสงแดด ลม ฝน ความชื้น น้ำมัน
และสารเคมีต่างๆ หากสามารถปฏิบัติได้ตามนี้ อายุการใช้งานของยางก็จะยาวนานขึ้น

About ""

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Vivamus suscipit, augue quis mattis gravida, est dolor elementum felis, sed vehicula metus quam a mi. Praesent dolor felis, consectetur nec convallis vitae.

Breaking

 
Copyright © 2013 loveFirstcar