เทคนิค การขับรถใกล้รถบรรทุกสารเคมี

เทคนิค การขับรถใกล้รถบรรทุกสารเคมี



กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะผู้ขับขี่เพิ่มความระวังในการขับรถใกล้รถบรรทุกสารเคมี
คุณอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า
เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง นอกจากผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรแล้ว
ควรสังเกตยานพาหนะที่อยู่รอบข้าง โดยเฉพาะรถบรรทุกสารเคมี
หากต้องขับรถเข้าใกล้ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และทิ้งระยะห่างให้มากกว่าปกติ
รวมทั้งศึกษารูปร่างและลักษณะถังบรรจุของรถบรรทุกสารเคมี เพื่อเป็นข้อมูลในเบื้องต้น หากเกิดเหตุฉุกเฉิน
ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกัน ทำให้บอกได้ว่าวัตถุที่บรรทุกเป็นสารเคมีประเภทใด
ดังนี้
รถบรรทุกของเหลวไวไฟ เป็นถังรูปวงรี หัวท้ายโค้งมนเรียบมีทางเดินบนหลังคา
รถบรรทุกก๊าซเหลวอุณหภูมิต่ำ
เช่น ก๊าซฮีเลียม ไนโตรเจน เป็นถังรูปทรงกระบอกใหญ่หัวท้ายโค้งมน
ท้ายถังมีตู้ควบคุมระบบระบายความดันและช่องถ่ายสารเคมี
รถบรรทุกสารกัดกร่อน เช่น กรดเกลือ กำมะถัน มองจากท้ายเป็นถังรูปวงกลมเล็ก
ด้านข้างเป็นรูปทรงกระบอก หัวท้ายโค้งมนตัวถังเป็นสเตนเลส มีวงแหวนรัดรอบถัง
รถบรรทุกก๊าซเหลวอัดความดัน
เช่น ก๊าซคลอรีน แอมโมเนีย เป็นถังรูปทรงกระบอก หัวท้ายมนรูปครึ่งวงกลม

 กรณีพบรถบรรทุกสารเคมีรั่วไหล
ให้อยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุด้านเหนือลมหรือที่สูงระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร
พร้อมโทรฯ แจ้งหน่วยปฏิบัติการช่วยเหลือ เช่น
แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 191
แจ้งเหตุฉุกเฉินอุบัติภัยสารเคมีกรมควบคุมมลพิษ 1650
หรือสายด่วนนิรภัย 1784 พร้อมบอกข้อมูลที่จำเป็นอย่างละเอียด เช่น สถานที่เกิดเหตุ ประเภทของรถบรรทุก
รูปร่างและลักษณะของถังบรรจุสารเคมี ชื่อบริษัทขนส่ง สัญลักษณ์ ฉลากหรือเครื่องหมาย
และหมายเลขสหประชาชาติที่เป็นตัวเลข 4 หลักติดบนภาชนะบรรจุ ถังเหล็ก แท็งก์ ป้ายที่ติดบนรถบรรทุก
และจำนวนผู้บาดเจ็บ เพื่อวางแผนควบคุมอุบัติภัยสารเคมีรั่วไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 ระหว่างรอ ควรกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องให้ห่างจากจุดที่เกิดเหตุไม่ต่ำกว่า 150 เมตร
ห้ามประกอบกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประกายไฟ เนื่องจากอาจมีไอระเหยสารเคมีหรือก๊าซติดไฟรั่วไหล
ทำให้เกิดระเบิดและเพลิงลุกไหม้อย่างรวดเร็ว
 


 หลีกเลี่ยงการจอดรถหรือขับรถผ่านกลุ่มควัน เพราะยานพาหนะเป็นแหล่งกำเนิดประกายไฟ
 ห้ามเหยียบ หรือสัมผัสสารเคมีที่รั่วไหลออกมา
 ห้ามเปิดท้ายรถบรรทุกสารเคมีที่ประสบอุบัติเหตุ
หรือแก้ไขสถานการณ์ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เด็ดขาด
เพราะสารเคมีแต่ละชนิดมีวิธีควบคุมและกู้ภัยต่างกัน
 หากไม่มีความรู้ อาจทำให้สถานการณ์รุนแรงและลุกลามขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วมากขึ้น.
 

About ""

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Vivamus suscipit, augue quis mattis gravida, est dolor elementum felis, sed vehicula metus quam a mi. Praesent dolor felis, consectetur nec convallis vitae.

Breaking

 
Copyright © 2013 loveFirstcar